ดาวศุกร์ - ดาวศุกร์ นิยาย ดาวศุกร์ : Dek-D.com - Writer

    ดาวศุกร์

    เกียวกับดาวศุกร์นะคะ

    ผู้เข้าชมรวม

    988

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    988

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  16 ส.ค. 49 / 14:59 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ดาวศุกร์  (Venus)

                                           ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 มีขนาดเล็กกว่า
               โลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดกับโลก เป็นดาวเคราะห์ที่ปรากฏสว่างที่สุด สว่างรอง
                จากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาค่ำเรียกว่า ดาวประจำเมือง
                และถ้าเห็นทางทิศตะวันออกในเวลาก่อนรุ่งอรุณ เรียกว่า ดาวประกายพรึก ดาวศุกร์เป็นดาว
               เคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างรุนแรง เพราะมีบรรยากาศหนาทึบด้วยคาร์บอน
               ไดออกไซด์ ดาวศุกร์จึงร้อนมาก อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงกว่า
      ดาวพุธ ดาวศุกร์มีโอกาสเข้ามา
                ใกล้โลกที่สุด ใกล้กว่าดาวพุธ ซึ่งนักดาราศาสตร์ยุคโบราณเข้าใจผิดคิดว่าอยู่ใกล้โลกที่สุด
               ลักษณะพิเศษของดาวศุกร์คือ หมุนรอบตัวเอง
      1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวง
                 อาทิตย์
      1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบ
                 ตัวเอง
      1 รอบ นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาว
                ศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่
               รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวง
               อื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ
      243
              วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึง
               ดวงอาทิตย์ตกยาวนาน
      58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปี
               ของดาว ศุกร์จึงยาวนาน
      225 วันของโลก

                                     ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกบนพื้นผิวรุนแรงมาก ทั้ง
                นี้เพราะดาวศุกร์มีก๊าซที่ช่วยดูดกลืนความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้มาก และ มีปริมาณสูง ก๊าซ
                ดังกล่าวคือ คาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ยังมีไอของกรดกำมะถัน ซึ่งเกิดจากการรวมตัว
                กันของซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับไอน้ำ บรรยากาศของดาวศุกร์มีอาร์กอน ไนโตรเจน คาร์บอน
                มอนอกไซด์ นีออน- ไฮโดรคลอไรด์ และไฮโดรฟลูออไรด์ ทำให้ความกดดันบรรยากาศสูง
                กว่าโลก
      90 เท่า ปรากฏการณ์เรือนกระจกบนพื้นผิวดาวศุกร์ ทำให้ดาวศุกร์ร้อนทั้งกลางวัน
                 และกลางคืน ตอนกลางวันอุณหภูมิสูงถึง
      477 องศาเซลเซียส บนพื้นผิวดาวศุกร์มีร่องลึก
                คล้ายทางน้ำไหล แต่เป็นร่องที่เกิดจากการไหลของลาวาภูเขาไฟ ไม่ใช่เกิดจากน้ำอย่างเช่น
                 บนโลก ร่องเหล่านี้ยาวนับร้อยถึงพันกิโลเมตร กว้าง
      1-2
      กิโลเมตร เช่น ร่องบอลติส วัลลิส
                (Baltis Vallis) ซึ่งยาว 6,800 กิโลเมตรนับว่ายาวที่สุดในระบบสุริยะ บนพื้นผิวดาวศุกร์มีซาก
                ภูเขาไฟที่สูงชื่อ มาตมอนส์ (
      Maat Mons) ภาพที่สร้างขึ้นจากข้อมูล
      เรดาร์ของยานอวกาศแมก
                  เจลแลนจากระยะ
      550 กิโลเมตร สูงจากพื้นผิว 1.7 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่า  มาตมอนส์  .
                  เป็นภูเขาไฟที่สูงประมาณ
      6 กิโลเมตร ปรากฏการณ์บนฟ้าเกี่ยวกับดาวศุกร์ การปรากฏเป็น
                  เสี้ยวคล้ายดวงจันทร์เมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ เนื่องจากวงโคจรของดาวศุกร์รอบดวง
                  อาทิตย์เล็กกว่าวงโคจรของโลก ทำให้ด้านสว่างของดาวศุกร์ที่หันมาทางโลกมีขนาดเปลี่ยน
                   แปลง โดยเฉพาะในช่วงที่อยู่ใกล้โลก จะมีด้านสว่างเพียงเล็กน้อยหันมาทางโลกทำให้
                  เห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวบางๆ แต่มีความยาวมากกว่าเมื่อดาวศุกร์อยู่ไกล ช่วงที่เห็นดาวศุกร์
                  เป็นเสี้ยวบางๆ นี้เองที่ดาวศุกร์ปรากฏสว่างมากบนฟ้าด้วย ส่วนเมื่อปรากฏเป็นเสี้ยวน้อยลง
                  หรือเกือบเป็นเต็มดวง ขนาดปรากฏในกล้องโทรทรรศน์จะเล็กลงและสว่างลดลง
                  ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เมื่อดาวศุกร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ โดยอยู่
                   บนเส้นตรงที่ต่อระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ แต่คนบนโลกจะเห็นดาวศุกร์เป็นวงกลมดำ
                   บนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เรียกว่า ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (
      Transit of Venus) เกิดไม่บ่อย
                  เกิดเป็นคู่ห่างกันประมาณ
      8 ปี ใน 1 ศตวรรษจะมีเกิด 1 คู่ เช่น คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่
                  17 คือในปี ค.ศ. 1631 และ 1639 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 คือในปี ค.ศ. 1761 และ
                   1769 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือในปี ค.ศ. 1874 และ 1882 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษ
                   ที่
      21 คือในปี ค.ศ. 2004 และ 2012

                                   การสำรวจดาวศุกร์โดยยานอวกาศ ยานอวกาศลำแรกที่ถ่ายภาพเมฆดาวศุกร์ได้ คือ
                    ยานอวกาศของสหรัฐอเมริกา ชื่อยานมารีเนอร์
      10 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ยานอวกาศ
                   ลำแรกที่ได้ถ่ายภาพพื้นผิวดาวศุกร์ได้ คือยานอวกาศเวเนรา
      9 ของรัสเซีย ซึ่งลงสัมผัสพื้น
                   ผิวของดาวศุกร์เมื่อ
      21 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ต่อมามียานอวกาศไปสำรวจดาวศุกร์อีกหลายลำ
                  ลำล่าสุดที่ถ่ายภาพโดยอาศัยระบบเรดาร์ คือยานแมกเจลแลน เมื่อ
      29 ตุลาคม พ.ศ. 2534
       

                                  เมื่อ พ.ศ. 2170 โจฮันส์ เคปเลอร์ เป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่คำนวณได้ล่วงหน้า
                      ว่า จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ในวันที่
      6 ธันวาคม พ.ศ. 2174 ต่อมา
                      ในปี พ.ศ.
      2259 เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ ได้คำนวณการเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวง
                       อาทิตย์ในปี พ.ศ.
      2304 และ 2312 พร้อมเสนอว่า สามารถใช้ปรากฏการณ์นี้ในการวัด
                       ระยะทาง
      1 หน่วยดาราศาสตร์ได้

      สัญลักษณ์      

              เป็นชื่อเทพธิดาแห่งความงาม (Venus) เนื่องจาก เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด เมื่อ
                 มองจากโลก และสังเกตเห็นได้ง่าย แม้ว่า ความเป็นจริงแล้ว ดาวดวงนี้ จะไม่สามารถมีสิ่งมี
                  ชีวิต อาศัยอยู่ได้ เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงมากก็ตาม แต่ครั้งหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่า
                   ดาวศุกร์ มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

                              ดาวศุกร์ ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สอง มีขนาดใกล้เคียงกับ
                   โลก จึงชื่อว่าเป็น
      "ฝาแฝดโลก" ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ชั้นในเช่นเดียวกับดาวพุธ จึงทำให้
                    เราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้เช่นเดียวกับดาวพุธคือ ทางด้านทิศตะวันตกหลังอาทิตย์ลับ
                     ของฟ้าไปแล้วสูงประมาณ
      45 องศา เรียกว่าดาวศุกร์นี้ว่า "ดาวประจำเมือง" และด้านทิศ
                     ตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เรียกว่า "ดาวรุ่ง" หรือ "ดาวประกายพรึก" ซึ่งเราสามารถ
                      มองเห็น เป็นดาวเด่นอยู่บนท้องฟ้าสวยงามมาก ชาวกรีกโบราณจึงยกให้ดาวศุกร์แทน
                     เทพวีนัส เทพแห่งความงาม เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นลักษณะของดาวศุกร์เว้า
                      แหว่งเป็นเสี้ยวคล้าย กับดวงจันทร์เช่นกัน

      ข้อมูลดาวศุกร์   ( ทางตัวเลข )

      ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ (กิโลเมตร)

      108,200,200

      คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ (วัน)

      224.701

      ความเอียงของวงโคจร(องศา)

      3.394

      ค่าความรีของวงโคจร (Orbital eccentricity)

      0.0068

      แกนหมุนเอียงทำมุมกับระนาบโคจร (องศา)

      177.36

      คาบการหมุนรอบตัวเอง (วัน)

      243.02

      รัศมีที่เส้นศูนย์สูตรดาว (กิโลเมตร)

      6 051.8

      มวล (กิโลกรัม)

      4.689 X 1024

      มวล (จำนวนเท่าของโลก)

      0.181476

      ความหนาแน่นเฉลี่ย (กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร)

      5.25

      Visual geometric albedo

      0.65

      ค่าแมกนิจูด (Vo)

      -4.4

      อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย (องศาเซลเซียส)

      482

      ความดันบรรยากาศ (บาร์)

      92

      องค์ประกอบทางเคมีของชั้นบรรยากาศ
      คาร์บอนไดออกไซด์
      ไนโตรเจน
      อื่น ๆ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไอน้ำคาร์บอนมอนอกไซด์  อาร์กอน ฮีเลียม นีออนไฮโดรเจนคลอไรด์ และไฮโดรเจนฟลูออไรด์

      96%
      3+%

      การสำรวจดาวศุกร์

      โดยยานอวกาศ ยานอวกาศลำแรกที่ถ่ายภาพเมฆดาวศุกร์ได้ คือยานอวกาศของสหรัฐอเมริกา ชื่อยานมารีเนอร์ 10 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ยานอวกาศลำแรกที่ได้ถ่ายภาพพื้นผิวดาวศุกร์ได้ คือยานอวกาศ

      เวเนรา 9 ของรัสเซีย ซึ่งลงสัมผัสพื้นผิวของดาวศุกร์เมื่อ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ต่อมามียานอวกาศไปสำรวจดาวศุกร์อีกหลายลำ ลำล่าสุดที่ถ่ายภาพ โดยอาศัยระบบเรดาร์ คือยานแมกเจลแลน เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534

      ยานอวกาศที่สำรวจดาวศุกร์ มีด้วยกันหลายลำได้แก่
           1. มาริเนอร์ 2 เมื่อ 14 ธันวาคม 2505
           2. เวเนรา 4 18 ตุลาคม 2510
           3. เวเนรา 7 15 ธันวาคม 2513
           4. มาริเนอร์ 10 5 กุมภาพันธ์ 2517
           5. เวเนรา 9 23 ตุลาคม 2518
           6. เวเนรา 15 10 ตุลาคม 2526
           7.ไพโอเนียร์-วีนัส 2 9 ธันวาคม 2521
           8. แมกเจลแลน 10 สิงหาคม 2533

      ภาพต่างๆ พร้อมอธิบาย

                                 

      ภาพถ่ายดาวศุกร์ในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

      ภาพถ่ายดาวศุกร์ตามลำดับการปรากฏเป็นเสี้ยวเช่นเดียวกับ ข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์








      ภาพถ่ายดาวศุกร์เต็มดวง เป็นภาพถ่ายด้วยเทคนิคเรดาร์จากยานแมคเจลแลน (NASA/JPL)

      ภาพถ่ายพื้นผิวของดาวศุกร์แบบ 3 มิติ (NASA/JPL)








      ภาพภูเขาไฟและเส้นทางลาวาบนดาวศุกร์ เป็นภาพถ่ายด้วยเทคนิคเรดาร์จากยานแมคเจลแลน (NASA/JPL

      R z.

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×